ไฟฟ้าสถิตย์ โดนอะไรก็ช็อค *-*

ไฟฟ้าสถิต โดนอะไรก็ช็อต เกือบทุกอย่าง +_+!!! (เป็นบางครั้ง)

ไฟฟ้าสถิต ในชีวิตประจำวัน

             การที่ไฟช๊อตเวลาแตะสิ่งของต่างๆ เกิดจากไฟฟ้าสถิต หรือพูดอีกย่างก็คือ ประจุไฟฟ้าบนร่างกาย กับ  วัตถุที่จับมีไม่เท่ากัน เมื่อสัมผัสกับวัตถุจึงเกิดการถ่ายเทประจุอย่างรวดเร็ว ผ่านรอยต่อแคบๆ ของการสัมผัส (เช่นปลายนิ้ว) ทำให้รู้สึกเจ็บแปล้บขึ้น บางครั้งก็รุนแรงจนได้ยินเสียง "เปรี๊ยะ" เลยทีเดียว

             โดยปกติ วัตถุใดๆ รวมทั้งร่างกายจะเป็นกลางทางไฟฟ้า แต่เหตุที่ทำให้ร่างกายมีประจุไฟฟ้าเปลี่ยนไปเป็นเพราะร่างกายเสียดสีกับวัตถุรอบๆ (เช่นพื้นดิน หรือแม้แต่อากาศ) การเสียดสีจะทำให้เราได้รับประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หรือสูญเสียประจุไฟฟ้าไป ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ร่างกายไม่เป็นกลางทางไฟฟ้า (เป็นบวกหรือลบ) เมือสัมผัสกับวัตถุใดๆ ประจุไฟฟ้าก็จะวิ่งผ่าน (เข้าหรือออก) ผิวสัมผัส

              การเปลี่ยนแปลงประจุของร่างกายจะเกิดมากขึ้นในสภาวะที่มีความชื้นต่ำ เช่น ในหน้าหนาวที่มีอากาศแห้ง จึงน่าจะเป็นสาเหตุุที่เกิดไฟฟ้าเกิดขึ้นบ่อยในช่วงนี้ และในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศอย่างในออฟฟิส ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่างๆ เกิดการสะสมประจุจากการใช้งานตามปกติอยู่แล้ว ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไฟฟ้าสถิตบ่อยๆ ในช่วงนี้

ทางแก้ไข อาจต้องทำหลายๆ อย่างควบคู่กันไปนะครับ

               เนื่องจากไฟฟ้าสถิตเริ่มจากการเสียดสีกันของร่างกายกับวัตถุในสภาพที่มีความชื้นต่ำ การใช้ครีมทาผิว หรือน้ำมันทาผิว ให้ผิวมีความชุ่มชื้น ช่วยกระจายประจุไม่ให้เกิดการสะสมบนผิวหนังได้ การทาควรทาให้ทั่วร่างกาย เพราะการเสียดสีนั้นเกิดขึ้นทั้งระหว่างรผิวหนังกับเสื้อผ้า รองเท้ากับพื้น (เช่นพรม) หรือผวหนังกับอากาศ อาจใช้ครีมทาให้ทั่วตัวหลังอาบน้ำเสร็จก็ได้ครับ

              จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าความเจ็บจากไฟช็อตเกิดจากประจุเดินทางผ่านผิวสัมผัสแคบๆ อย่างปลายนิ้วอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเราเพิ่มผิวสัมผัสจะช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ ในการจับวัตถุต่างๆ ให้ลองจับแบบเต็มๆ มือ และเร็วๆ ให้พื้นผิวของทังมือสัมผัสวัตถุพร้อมกันครับ

               หากยังใจไม่ถึงที่จะจับเต็มมือ เครื่องประดับโลหะที่สวมอยู่ เช่นแหวน หรือ สร้อยข้อมือ สามารถช่วยได้ครับ ก่อนจับวัตถุใดๆ ให้ใช้แหวนหรือสร้อยสัมผัสกับโลหะใกล้ๆ ตัวเพื่อถ่ายเทประจุ ปรับให้ร่างกายเป็นกลางทางไฟฟ้าก่อน แล้วค่อยจับวัตถุก็จะไม่โดนช็อตครับ

               ในประเทศเมืองหนาวเรื่องไฟฟ้าสถิตเป็นปัญหา และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนที่นั่นเลยครับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่นั่นจึงออกแบบมาเพื่อรองรับเรื่องนี้ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือปลั๊กไฟของเค้าจะเป็นแบบ 3 ขา โดยขาที่ 3 เป็นสายดินทำหน้าที่ถ่ายประจุที่เกิดขึ้น แต่พอประเทศเราเอาอุปกรณ์ของเค้ามาใช้แม้จะมีปลั๊ก 3 รู ก็จริง แต่สำหรับหลายที่ รูที่ 3 กลับมีไว้เฉยๆ ไม่ได้ต่อสายดิน เครืองใช้ไฟฟ้าจึงมักเกิดไฟฟ้าสถิตได้ครับ แต่เพราะมันไม่ได้เกิดบ่อยๆ เหมือนในเมืองหนาวเราจึงไม่ค่อยใส่ใจครับ

               ผมเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตและได้ลองทำทุกวิธีที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งมันก็ได้ดีทีเดียว แต่ขณะเดียวกันผมก็รู้สึกว่าการป้องกันไฟฟ้าสถิต สร้างความยุ่งยากให้ชีวิตมากทีเดียว หลังๆ ผมจึงพยายามอยู่ร่วมกับมัน พยายามหาความสนุก บางครั้งก็เอาไปแกล้งเพื่อนครับ

               เช่น เวลาเดินตามห้างสรรพสินค้า ผมจะโบกมือไปมาเร็วๆ ให้เกิดการเสียดสีกับอากาศ สะสมประจุไว้ แล้วเอานิ่วไปแตะคอ หรือติ่งหูเพื่อน เราเตริยมตัวเตรียมใจไว้แล้วเลยไม่รู้สึกเจ็บเท่าไหร่ แต่คนที่โดนโดยไม่รู้ตัวมาก่อน สะดุ้งครับ

Visitors: 1,251,401